\r\n ", "datePublished": "2021-03-02", "dateModified": "2021-03-02", "author": { "@type": "Person", "@id": "#person-", "name": "\u0e02\u0e38\u0e19\u0e1e\u0e31\u0e19\u0e18\u0e4c \u0e25\u0e38\u0e48\u0e21\u0e19\u0e49\u0e33\u0e01\u0e27\u0e4a\u0e32\u0e19" }, "image": "https://www.phayaonewsreport.com/wp-content/uploads/2021/03/FB_IMG_1614648890830.jpg", "publisher": { "@id": "#organization" }, "mainEntityOfPage": "https://www.phayaonewsreport.com/2021/03/02/7502/" }

พะเยา กรมทางหลวงปรับปรุงจุดตัด ทล.1 กับทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยา

Ad Place Set this code at Ad Place
Call Ad Set this code before body tag closing

กรมทางหลวงปรับปรุงจุดตัด ทล.1 กับทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยเป็นทางแยกต่างระดับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจราจร ลดอุบัติเหตุ ยกระดับความปลอดภัยด้านคมนาคม


กรมทางหลวง จัดทำแผนออกแบบโครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 กับทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยา เนื่องจากปัจจุบันบริเวณทางเข้ามหาวิทยาลัยพะเยาเป็นทางแยกสัญญาณไฟจราจร ตัดกับทางหลวงหมายเลข 1 ซึ่งเป็นจุดทางแยกที่มีปริมาณการจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ประกอบกับถนนพหลโยธินหรือทางหลวงหมายเลข 1 เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า จึงต้องออกแบบปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นและมีแนวโน้มสูงขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน โดยโครงการดังกล่าวอยู่บนถนนพหลโยธิน ที่ กม. 822+500 ท้องที่ ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา เป็นสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยพะเยา ศูนย์การแพทย์ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา

กรมทางหลวงจึงดำเนินการออกแบบเป็นรูปแบบทางลอดขนาด 4 ช่องจราจร โดยจะก่อสร้าง ทางลอดบนทางสายหลักและปรับปรุงทางคู่ขนานแบบ 2 ทิศทาง ทั้ง 2 ฝั่งของถนน ความกว้างช่องจราจร ช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร พร้อมทางเท้าและระบบระบายน้ำใต้ทางเท้า แบ่งทิศทางการจราจรด้วยแบริเออร์คอนกรีตแบบ 2 หน้า ความยาวทางลอด 760 เมตร พร้อมปรับปรุงขยายช่องจราจรให้สัมพันธ์กับทางลอดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างทางเข้าหน้ามหาวิทยาลัยและชุมชนฝั่งตรงข้ามจะใช้วงเวียนในการเปลี่ยนทิศทางการจราจร เพื่อระบายรถเข้าสู่ถนนคู่ขนาน โดยออกแบบวงเวียนขนาด 1 ช่องจราจร กว้าง 4 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2 เมตร รวมความกว้าง 7 เมตร พร้อมทั้งปรับปรุงทางคู่ขนานทั้ง 2 ฝั่งตลอดแนวทางลอดให้รถสามารถวิ่งสวนทางกันได้ และเมื่อนำมาเชื่อมต่อกับระบบวงเวียนจึงทำให้การจราจรทั้งสองฝั่งสามารถเดินทางถึงกันได้อย่างปลอดภัย งบประมาณก่อสร้าง 420 ล้านบาท ปัจจุบันโครงการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการเสนอของบประมาณก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2565 หากได้รับการจัดสรรงบประมาณ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณต้นปี พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะแก้ไขปัญหาด้านการจราจรปัจจุบันและสอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในอนาคต ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน ลดการเกิดอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 กับทางเขามหาวิทยาลัยพะเยาให้มีความคล่องตัว ลดผลกระทบต่อชุมชน รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการคมนาคมขนส่งโดยรวมอีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า