ผู้สื่อข่าว ได้ติดตามสอบถามชาวบ้านและผู้รู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการสร้างการพัฒนาปรับปรุงวัดติโลกอาราม กลางกว๊านพะเยา เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา ก็ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไประหว่างกลุ่มให้สร้างและกลุ่มผู้ไม่ให้สร้าง ทำให้เกิดความเห็น แตกต่างซึ่งกว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภค ทั้งจังหวัด ทำให้เกิดปัญหาผู้ที่อยากสร้างก็จะมีการผลักดันให้สร้าง กลุ่มหนึ่งก็ไม่อยากให้สร้างเพราะมีความขัดแย้งและสิ่งแวดล้อมกับกว๊านพะเยา
ดร.บรรจง ไชยรินคำ ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ และเป็นผู้ที่ เคยศึกษาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบของกว๊านพะเยามาก่อน กล่าวว่า การสร้าง วการพัฒนาปรับปรุงวัดติโลกอาราม ให้เป็น Landmark หรือเป็นที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยาสร้างได้แต่ว่า จะทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ในระยะยาวเพราะการสร้าง วัดติโลกอาราม ควรให้คงรูปแบบเดิมเพราะว่าเป็นโบราณสถานเป็นเสมือนของเก่าที่ต้องบูรณะไว้และถ้าจะสร้างจริงๆต้องสร้างวัดที่อยู่บนฝั่งหรือบนบก อยู่บนพื้นดินแทน นักท่องเที่ยวสามารถ เดินทางมาท่องเที่ยว และดูชมได้สะดวกกว่าทางน้ำอีกทั้งกว๊านพะเยาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคที่สำคัญของจังหวัดพะเยา ถ้าเกิดสร้างจริงๆ ก็อาจจะทำให้พื้นที่ของกว๊านพะเยาหายไปแบะทำให้ระบบนิเวศเสียเสียไป
จากการเปิดเผยของ ชาวบ้านในเขตพื้นที่ชุมชนรอบกว๊านพะเยาไม่เห็นด้วยในการบูรณะการพัฒนาปรับปรุงวัดติโลกอาราม สร้างแลนด์มาร์ค เนื่องจาก ทำลายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดพะเยา ซึ่งใช้ในการอุปโภคและบริโภคของคนพะเยา เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องมลภาวะ ขยะมูลฝอย และถ้าคิดจะสร้างทำไมไม่สร้างพื้นที่ที่อยู่บนฝั่ง ไม่จำเป็นต้องไปสร้างที่ในน้ำเพราะว่าวัดติโลกอารามเป็นวัดที่เก่าแก่เป็นโบราณสถานต้องให้คงไว้อยู่เหมือนโบราณสถาน และโบราณสถานมีอีกตั้งหลายที่ ทำไมไม่มาบูรณะปฏิสังขรณ์ ดูแลหรือพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถาวรต่อไป
นายบุญชู ฝึกฝน ชาวบ้านที่ได้ริเริ่ม ฟื้นฟูวัดติโลกอารามเมื่อปีพ.ศ 2550 ซึ่งเป็นยุคแรกที่สำคัญพัฒนาจนถึงปัจจุบันการสร้างวัดติโลกอารามหรือบูรณะสร้างขึ้นมาก็เป็นผลดีจะทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวผู้คนได้เข้าเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัด