พะเยา ประเพณี เลี้ยงผี ฆ่ากวางทอง (สุนัขแดง)เซ่นบูชา ผีขุนน้ำ ออกรู วันสุดท้ายแห่งปีล้านน
วันที่ 18 มิถุนายน 2553 ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลแม่กาบ้านแม่กานาบัว หมู่ 7 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา ได้ทำพิธีเลี้ยงผีขุนน้ำ ซึ่งเป็นต้นน้ำในป่า ที่ไม่เคยแห้ง อยู่ในป่าท้ายหมู่บ้าน เพื่อเป็นการ ตอบแทน ที่ได้ให้น้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตร ทำไร่ทำนา ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งการทำพิธีเลี้ยงผีในวันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของเดือน 9 (มิย.) ของปี ชาวล้านนา ที่มีพิธีกรรม การเลี้ยงผี ขุนน้ำ ของหมู่บ้านเพื่อเป็นการทดแทนพระคุณผีขุนน้ำ หรือเทวดาอารักษ์ผืนป่าต้นน้ำ ทั้งหลาย ที่ทำหน้าที่ ปกปักรักษาป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลำธาร ให้ฝนตก และมีน้ำจากขุนน้ำหรือต้นน้ำไหลลงมาให้ใช้ในการเพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ในหมู่บ้านชุมชน ซึ่งชาวบ้านได้ยึด ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยยุคคนโบราณ มาหลายร้อยปี ของการเลี้ยงผีขุนน้ำ มาจนถึงปัจจุบัน
จากการสังเกต ก่อนทำพิธีเซ่นไหว้ เจ้าพ่อเจ้าแม่ขุนน้ำแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่าเจ้าพ่อ ตาศรี เจ้าแม่ยายษา ที่คอยปกปักรักษาผืนป่าและขุนน้ำ มีการ นำดอกไม้ธูปเทียน อาหารคาวหวาน น้ำเขียว น้ำแดงเหล้าขาว ไก่ กวางดำ (สุนัขแดง) นำมาเซ่นถวาย ได้มีชาวบ้าน มาร่วมพิธีกันเป็นจำนวนมาก ขณะที่กำลังเซ่นไหว้ได้มีชาวบ้านเป็น ผู้หญิงสูงอายุ ที่ได้มาร่วมประกอบพิธีเลี้ยงผี ก็มีอาการ เปลี่ยนไป เดินไปเดินมาพร้อมกับพูด พรึมพรำ ทั้งเต้นทั้งรำ เมื่อชาวบ้านเห็นนั้นก็ถามว่าเป็นเจ้าพ่อชื่อตาศรี -ยายษา ที่ปกปักรักษาดูแลขุนน้ำได้ลงมาประทับร่าง เพื่อมาให้ชาวบ้านที่มา เซ่นไหว้พบปะและพูดคุย พร้อมกับอวยพรให้ทุกคน อยู่ดีมีสุข หลังจากนั้นเจ้าพ่อก็ออกจากร่างซึ่งได้สร้างความงุนงงกับ แม่อุ้ยเป็นอย่างยิ่งว่าตัวเองทำอะไรเป็นอะไรเป็นชาวบ้านบอกว่าเจ้าพ่อเข้าร่างประทับทำให้แม่อุ้ยแสดงอาการหวาดผวา พร้อมกับบอกว่าทั้งที่ตนเองกลัวผีอยู่แล้ว และยังแขวนพระไว้ในคอถึง 3พวงยังถูกเจ้าพ่อเข้าสิงร่างจนได้
ผู้สื่อข่าวได้สอบถามเจ้าพ่อขณะที่เข้าร่างแม่อุ้ย ว่าทำไมต้องมาสิงร่างแม่อุ้ย เจ้าพ่อก็บอกว่าอยากลองของแม่อุ้ย เพราะแม่อุ้ยเป็นคนกลัวผีและแขวนพระมาเต็มคอก็เลยเข้าสิงร่างดูพร้อมกับชูพระในคอให้ดูว่าตัวเองไม่กลัวพระ เพราะตัวเองเป็น ยักษ์ พร้อมกับเอามือสองข้างแนบแก้มทำนิ้วเป็นเขี้ยว ยื่นออกมาข้างปาก ให้รู้ว่าเป็นยักษ์ หลังจากมีการพูดคุยกับชาวบ้านแล้ว บอกว่าเป็นเจ้าปู่ ชื่อตาศรี-ยายษา ที่อยู่สถานที่ขุนน้ำแห่งนี้มานานหลายร้อยปี นานมาแล้ว พร้อมกับ อวยพรให้ทุกคน ให้อยู่ดีมีสุขมีโชคมีลาภ หลังจากนั้นก็ได้ออกจากร่าง สำหรับพิธีการเซ่นไหว้เลี้ยงผีขุนน้ำหรือตาศรี-ยายษา ในครั้งนี้มีการเซ่นไหว้ด้วยกวางทอง(สุนัขแดง) นำมาเซ่นไหว้ร่วมกับ เครื่องเซ่นถวายอื่นๆด้วย และได้มีการสอบถามเจ้าพ่อขุนน้ำหรือตาศรี ว่าทำไมจะต้องกินกวางทอง(สุนัขสีแดง) ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่ากินมานานหลายหลายร้อยปีแล้ว กินสัตว์อื่นไม่ได้ มีการขอเอาหัวหมูแทนกวางทอง ก็ไม่ได้ หากจะกินวัวกินควาย กินได้แต่ชาวบ้านไม่สามารถนำมาเซ่นไหว้ได้เพราะมีราคาแพง ตนเองเป็นยักษ์ ประจำรักษาอยู่ในผืนป่าขุนน้ำแห่งนี้ชาวบ้านก็จำใจต้องนำ กวางทองมาเลี้ยง ร่วมกับอาหารอื่นๆ เป็นประจำทุกปี จนถึงทุกวันนี้ เป็นวันสุดท้ายเดือนสุดท้ายและของปีสุดท้าย ของการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีขุนน้ำของชาวล้านนา
นายคำ ปัญญา อายุ 56 ปี อาจารย์ เจ้าพิธีกรรมเลี้ยงผี กล่าวว่า ในวันนี้ถือว่าเป็นวันสุดท้ายของเดือน 9 หรือเดือนมิถุนายน ของปี ที่ มีการเลี้ยงผีขุนน้ำ ในเขตพื้นป่าไม้หมู่บ้านนาบัว หมู่ 7 ต.แม่กา อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา ซึ่งมีการประกอบพิธีในการเซ่นไหว้เลี้ยงผี มีมานานตั้งแต่สมัย ปู ย่า ตา ยาย โดยคนสมัยก่อนจะใช้น้ำตรงจุดนี้ ใช้ดื่มกิน และหล่อเลี้ยงชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยน้ำจะออกมาจากรูใต้ดินในป่าตลอดปี ไม่เคยแห้ง และวันนี้ ชาวบ้านได้นำอาหารคาวหวาน เป็ดไก่ และกวางดำ(สุนัขแดง) เพื่อนำมาเซ่นไหว้ผีขุนน้ำ ที่คอยปกปักรักษาชาวบ้าน ได้ให้น้ำดื่มกิน เกิดความอุดมสมบูรณ์ กันเป็นประเพณีกันทุกปี อาจารย์เจ้าพิธียังกล่าวอีกว่าการนำกวางทอง (สุนัขแดง)มาบูชาก็เคยสอบถามเจ้าพ่อแล้วจะเอาหมูมาเปลี่ยน ก็ไม่ได้เพราะไม่ชอบกินหมู หากจะเอาวัว-ควายมาบูชาแทนได้แต่มีราคาแพง เจ้าพ่อเลยเห็นใจชาวบ้าน ไม่เงินจึงจำเป็นต้องกิน กวางทอง (สุนัข ขนแดง)เพราะกินมาหลายปีแล้วชาวบ้านจึงนำกวางทองมาเซ่นไหว้เป็นประจำทุกปีทั้งที่ก็รู้ว่ามันเป็นการทำผิดกฎหมายแต่ก็ถือว่าเป็นประเพณีของชาวบ้านที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน